3 มิถุนายน 2023

ศูนย์รวม หวยเด็ดงวดนี้ เลขดังเข้าทุกงวด

ข่าวหวยงวดนี้ ข่าวหวยล่าสุด เลขมาแรง เลขดัง

ยื่นภาษี 2565 เช็กสิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในกลุ่มการออม-ลงทุน

ธุรกิจ-เช็กสิทธิ

ยื่นภาษี 2565 สายลงทุน-การออม ต้องรู้สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากการออมและการลงทุนอะไรได้บ้าง

ยื่นภาษี 2565 มนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี ต้องเตรียมตัวยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2565 โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีการออม หรือการลงทุนในสินทรัพย์ หรือกองทุนต่างๆ จะต้องเตรียมขอเอกสารจากบริษัทหลักทรัพย์เพื่อใช้ประกอบในการขอลดหย่อนภาษีด้วย ซึ่งในกลุ่มการออม-ลงทุน สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง ไปดูพร้อมๆ กัน

กลุ่มลดหย่อนภาษีจากการออม-ลงทุน
กองทุนรวมเพื่อการออม SSF (Super Saving Funds)
กองทุนรวมเพื่อการออมที่ลงทุนหลักทรัพย์ได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นตราสารหนี้ หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ กองทุนดัชนี ทองคำ อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ ปรับรูปแบบมาจากกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF (Long Term Equity Fund) ที่ลงทุนในหุ้นเป็นหลัก
จำนวนสูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
ต้องซื้อระหว่างวันที่ 1 ม.ค.-31 ธ.ค. 65 ถึงจะใช้สิทธิลดหย่อนภาษีปี 2565 ได้
ถือครองอย่างน้อย 10 ปี โดยไม่สามารถขายได้ หากขายก่อนครบกำหนด ถือว่าผิดเงื่อนไขลดหย่อนภาษี และต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับการยกเว้น
จำนวนเงินที่ซื้อกองทุน SSF เมื่อรวมกับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.), กองทุนครูโรงเรียนเอกชน, กองทุนการออมแห่งชาติ และประกันชีวิตแบบบำนาญ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในแต่ละปีภาษี
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF (Retirement Mutual Fund)
หักลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อ
ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี อย่างน้อยปีเว้นปี
ลงทุนอย่างน้อย 5 ปีเต็ม นับจากวันที่ลงทุนวันแรก โดยนับเฉพาะปีที่มีการซื้อหน่วยลงทุน คือ ปีใดไม่ลงทุนจะไม่นับว่ามีการลงทุนในปีนั้น
ต้องลงทุนต่อเนื่องจนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
เมื่อซื้อ RMF รวมกับกองทุนรวม SSF, กบข. , กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนครูโรงเรียนเอกชน, ประกันชีวิตแบบบำนาญ และกองทุนการออมแห่งชาติ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

ธุรกิจ-เช็กสิทธิ

กองทุนรองเลี้ยชีพ
ลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินปีละ 10,000 บาท ส่วนเงินที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 15% ของรายได้ และไม่เกิน 490,000 บาท จะได้รับยกเว้น ไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเงินได้ เพื่อเสียภาษี สามารถนำเงินส่วนเกินนี้ไปหักออกจากเงินได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายได้
เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เมื่อรวมกับกองทุนรวม SSF, กองทุนรวม RMF, กบข., กองทุนครูโรงเรียนเอกชน, ประกันชีวิตแบบบำนาญ, กองทุนการออมแห่งชาติ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
ลดหย่อนภาษีได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี
เมื่อรวมกับกองทุนรวม SSF, RMF, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนครูโรงเรียนเอกชน, ประกันชีวิตแบบบำนาญ, กองทุนการออมแห่งชาติ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน
ลดหย่อนภาษีได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี
เมื่อรวมกับกองทุนรวม SSF, กบข., RMF, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, ประกันชีวิตแบบบำนาญ, กองทุนการออมแห่งชาติ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)
ลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง สูงสุดปีละ 13,200 บาท
เมื่อรวมกับกองทุนรวม SSF, กบข., RMF, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, ประกันชีวิตแบบบำนาญ, กองทุนครูโรงเรียนเอกชน ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise (วิสาหกิจเพื่อสังคม)
ลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
บุคคลธรรมดาที่ลงหุ้น หรือลงทุน (ทั้งกรณีจัดตั้งและเพิ่มทุน) ในธุรกิจ Social Enterprise (วิสาหกิจเพื่อสังคม) โดยธุรกิจนั้นต้องจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมประเภทไม่ประสงค์แบ่งปันกำไร
ผู้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีต้องถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนจนกว่าวิสาหกิจเพื่อสังคมนั้นเลิกกิจการ เว้นแต่กรณีที่กำหนด

อ่านข่าวเพิ่มเติม : เสริมอาหาร-บิวตี้จ่อเปิดตลาด จับตาสินค้ากัญชา-กัญชงแผ่วนโยบายรัฐไม่ชัด