1 ตุลาคม 2023

ศูนย์รวม หวยเด็ดงวดนี้ เลขดังเข้าทุกงวด

ข่าวหวยงวดนี้ ข่าวหวยล่าสุด เลขมาแรง เลขดัง

แทนกล้องได้ไหม? รีวิว “Xiaomi 12T Pro”

เทคโนโลยีในอนาคต

เจาะลึกหลังลอง จุดเด่นเรื่องกล้องละเอียด 200 ล้านพิกเซล ที่ทำให้ “Xiaomi 12T Pro” สู้ศึก “สมาร์ทโฟนกล้องเทพ”

การแบกตัวเลขที่สูงสุด ณ ตอนนี้ของกล้องสมาร์ทโฟน ด้วยความละเอียด 200 ล้านพิกเซล คือความกดดันอย่างหนึ่งที่ทำให้หลายคนคาดหวังกับ Xiaomi 12T Pro เครื่องนี้

ตั้งแต่เปิดตัวสมาร์ทโฟนเรือธงรุ่นใหม่ล่าสุดรุ่นนี้ของ Xiaomi มีคนตั้งคำถามว่าสเปคเวอร์วังอลังการของกล้องสมาร์ทโฟนนี้จะเอามาใช้แทนกล้อง DSLR หรือ Mirrorless กันเลยไหม หลังจากลองใช้งานจริงโดยเน้นที่การถ่ายภาพและวิดีโอเป็นหลักเพื่อศึกษาศักยภาพ KT Review กรุงเทพธุรกิจไอที มีคำตอบว่า “Xiaomi 12T Pro” จะขึ้นแท่น สมาร์ทโฟนกล้องเทพ ได้เลยหรือไม่

เทคโนโลยีในอนาคต

ข้ามเรื่องสเปคต่างๆ ไปเลย แล้วพุ่งเป้าไปที่ตัวเลข 200 ล้านพิกเซล ซึ่งซ่อนอยู่ในเมนู “เพิ่มเติม” ที่เราต้องไปเลือกในนั้นว่าจะเปิดโหมด Ultra HD ที่ความละเอียด 50MP หรือ 200MP

หลังจากเปิดประสิทธิภาพกล้อง 200MP แล้ว จะพบว่ามีข้อจำกัดต่างๆ เช่น ซูมได้สูงสุดที่ระยะ 2X และจะตั้งค่ากล้องส่วนอื่นๆ ไม่ได้ ยกเว้นตั้งเวลาถ่ายภาพ, เปิดปิดแฟลช และเลือกฟิลเตอร์ได้

การใช้งานความละเอียด 200MP ไม่มีอะไรซับซ้อน เพียงเล็งแล้วกดชัตเตอร์ ที่เหลือคือหน้าที่ของเซ็นเซอร์ขนาดใหญ่ 1/1.22 นิ้ว ที่จะเก็บรายละเอียดทั้งหมดของภาพที่เราถ่ายเอาไว้

เมื่อดูด้วยตาเปล่าอาจไม่เห็นความแตกต่าง นอกจากรู้สึกว่าภาพสวยคมชัดดี แต่เมื่อ Preview แล้วค่อยๆ ซูมภาพเข้าไป จะเห็นได้เลยว่าภาพยังคมชัด มีรายละเอียดที่ดีมาก แต่ใช่ว่าจะซูมได้แบบอินฟินิตี้ เพราะถึงจะเคลมว่ามีความละเอียดมหาศาล ทว่ากล้องมือถือก็คือกล้องมือถือเพียงแต่ว่ากล้องของ “Xiaomi 12T Pro” ทรงพลังด้านความละเอียดกว่ารุ่นอื่นๆ จนเก็บรายละเอียดได้มากกว่า ในการกดชัตเตอร์ในสถานการณ์เดียวกัน

คำว่า “ละเอียด” ของสมาร์ทโฟนเครื่องนี้ เมื่อซูมไปมากๆ (เกินกว่าปกติที่คนจะนำภาพมาใช้) แน่นอนว่าภาพต้องแตก แต่ที่น่าสนใจคือยังเห็นรายละเอียดว่าวัตถุในภาพนั้นคืออะไร มีลักษณะอย่างไร ซึ่งเป็นประสิทธิภาพของเซ็นเซอร์ใหญ่เบิ้มกับความละเอียด 200 ล้านพิกเซล

เรื่องหนึ่งที่ต้องแลกมากับความละเอียดมากมายนี้ คือขนาดไฟล์ภาพที่ใหญ่มาก โดยส่วนมากจะอยู่ที่ภาพละหลายสิบ MB ใหญ่จนอาจจะกลายเป็นเปลืองเมมโมรีเลยทีเดียวสำหรับคนที่ไม่มีความจำเป็นจะต้องใช้ภาพที่ความละเอียดสูงขนาดนี้

ส่วนกล้องในโหมดๆ อื่นๆ ถือว่าจัดอยู่ในกลุ่มสมาร์ทโฟนถ่ายภาพสวย คมชัด มีสกินโทนสวย น่าจะถูกใจสาวๆ ด้วยซ้ำ ตามสไตล์ของเสียวหมี่

แต่ที่แปลกใจตัวเอง คือ เรากลับรู้สึกสนุกกับพวกฟีเจอร์ยิบย่อยที่ “Xiaomi” ใส่มาเป็นลูกเล่นของกล้อง อาทิ เอฟเฟกต์ภาพยนตร์ ที่สร้างสีสันให้ภาพถ่ายโหมดภาพบุคคลด้วยแสงแฟลร์แบบต่างๆ หรืออย่างฟีเจอร์การเปิดรับแสงนาน ที่เมื่อนำมาใช้ถ่ายแสงสีหรือแม้กระทั่งพลุดอกไม้ไฟก็ได้ภาพที่สวยและแทบไม่น่าเชื่อว่านี่คือกล้องสมาร์ทโฟน

ยกตัวอย่างภาพถ่ายพลุในงานเปิดตัวสวนน้ำแห่งหนึ่ง เพียงเปิดฟีเจอร์การเปิดรับแสงนาน แล้วเลือกโหมดแสงนีออน เล็งไปที่จุดที่พลุขึ้น ถือโทรศัพท์ให้นิ่งที่สุด กดชัตเตอร์หนึ่งครั้งเพื่อเริ่มถ่าย ระหว่างนั้นกล้องจะเก็บแสงไปเรื่อยๆ เมื่อกดหยุดอีกครั้งจะเท่ากับปิดชัตเตอร์ แบบเดียวกับชัตเตอร์ B ในกล้องทั่วไป ภาพที่ได้คือแสงสีของพลุที่ลากยาวเป็นรูปเป็นร่าง เส้นสายคมชัด และสีสันอิ่มสวยมากๆ